สายพานลำเลียง
สายพานลำเลียง (Conveyor Belt) เป็นระบบลำเลียงวัสดุหรือชิ้นงานที่บรรทุกวัสดุไว้บนสายพานแล้วนำวัสดุเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้า สามารถปรับความเร็วในการเคลื่อนที่ได้
จุดเด่นของการมีสายพานลำเลียง คือ ช่วยให้กระบวนการผลิตมีความรวดเร็วและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ทั้งยังลดต้นทุน เหมาะสำหรับการลำเลียงโดยอัตโนมัติในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ธุรกิจขนส่ง การจัดเก็บหรือกระจายสินค้า เป็นต้น ซึ่งขนาดสายพานลำเลียง จะมีให้เลือกแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งาน
ส่วนประกอบสำคัญของสายพานลำเลียงอุตสาหกรรม
- ยางบน (Top Cover) คือ ส่วนที่อยู่บนสุดทำหน้าที่รับวัสดุ การเลือกวัสดุยางบนให้เหมาะสมกับลักษณะของงานจะช่วยยืดอายุการใช้งานและ ลดต้นทุนการผลิตได้ดี นอกจากนี้ยางชั้นบนยังมีให้เลือกหลากหลาย เช่น ทนเสียดสี ทนความร้อน ทนน้ำมัน ทนกรด-ด่าง ทนไฟ และที่ใช้กับอาหาร เป็นต้น
- ผ้าโพลีเอสเตอร์ (EP Fabric) จะช่วยในเรื่องของการรับแรงกระแทกจากวัสดุที่ตกกระทบถูกลำเลียงบนสายพาน โดยจำนวนของชั้นผ้า จะคำนวณมาจากน้ำหนักของวัสดุ
- ยางใน (Inner Rubber) เป็นยางแผ่นบางๆ แทรกอยู่ระหว่างชั้นผ้าโพลีเอสเตอร์ เพื่อเสริมแรงเกาะติดระหว่างชั้นผ้าให้สูงขึ้น ป้องกันชั้นผ้าแยกออกจากกัน
- ยางน้ำกาว (Skim Coat) เป็นกาวยางผลิตจากยางนีโอพรีน (CR) เคลือบอยู่บนผ้าโพลีเอสเตอร์ มีคุณสมบัติช่วยกันป้องกันการหลุดร่อนของยางบนและยางใน
- ยางล่าง (Bottom Cover) เป็นส่วนที่สัมผัสกับลูกกลิ้งด้านล่างโดยตรง ไม่ได้สัมผัสกับวัสดุลำเลียง จึงมีความหนาที่บางกว่ายางบน ทนทานการเสียดสีกับลูกกลิ้งลำเลียงได้ดี และมีคุณสมบัติอื่นๆ แบบเดียวกันกับยางบน